Sunday, August 8, 2010

“ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ”
Computer-Assisted-Instruction (CAI)
“ การวิจัยเมฆ ” เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ CAI ที่ใช้การบูรณาการร่วมกับการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน

การศึกษาความหมาย หลักการ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพการใช้
สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1. มัลติมีเดีย
2. สื่อมัลติมีเดีย (สื่อประสม)

1. มัลติมีเดีย
มัลติมีเดีย หมายถึง การใช้สื่อมากกว่า 1 สื่อ ร่วมกันนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้รับสื่อสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้มากกว่า 1 ช่องทาง และหลากหลายรูปแบบ คำจำกัดความนี้ครอบคลุมชุดการสอนที่รวมสื่อต่าง ๆ ไว้ด้วยกันเป็นชุด เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นเครื่องฉายสไลด์ เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องบันทึกเสียง ฯลฯ มาต่อพ่วง โดยมีระบบคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุม รวมถึงระบบสื่อสมบูรณ์แบบที่นำสื่อหลากหลายเข้ามาบูรณาการ ผ่านการควบคุมการใช้และการโต้ตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่าย
มัลติมีเดียมีใช้มานานแล้ว ส่วนมากจะใช้เพื่อการเรียนการสอน และการนำเสนอเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนในช่วงแรกนั้นเป็นเพียงการได้เห็น
และได้ยิน อุปกรณ์ที่ใช้อาจเป็นเครื่องเล่นเทปซึ่งต่อพ่วงหรือเล่นร่วมกับเครื่องฉายฟิล์มสคริปต์ เครื่องฉายสไลด์ เป็นต้น ต่อมามัลติมีเดียได้มีการนำมาใช้กับคนกลุ่มใหญ่ขึ้น มีวิธีการและรูปแบบการนำเสนอที่ซับซ้อนขึ้น อาจต้องใช้เครื่องเล่นหลายเครื่อง ซึ่งทั้งหมดควบคุมสัญญาณด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้รูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์แตกต่างกันไปบ้าง แต่โครงสร้างพื้นฐานของการนำเสนอยังคงเน้นที่ การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เห็น ได้เลือก และรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์

2. สื่อประสม

สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อการสอน ตั้งแต่ 2 ชนิดมาสัมพันธ์กัน ซึ่งมีคุณค่าส่งเสริมซึ่งกันและกัน คือการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ช่วยทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสื่อประสมเป็นแนวคิดใหม่ในการจัดการเรียนการสอน แด่เดิมมีแนวคิดที่สนใจสื่อเฉพาะอย่าง แต่จากการศึกษาพบว่า สื่อแต่ละอย่างนั้นมีคุณประโยชน์แตกต่างกัน แต่สามารถนำมาใช้ ผสมผสานกันเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาได้
ข้อดีและข้อจำกัดของการใช้สื่อประสม
ข้อดี
1. ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาตามความสามารถและความสนใจจากสื่อหลายประเภทและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า
2. ช่วยลดเวลาการเรียนการสอนโดยประสิทธิภาพไม่ลดลง
3. ช่วยเพิ่มพูนกระบวนการเรียนเพื่อรอบรู้ และลดปัญหาการสอบตก
4. ช่วยในการประเมินผลการสอนและการปรับปรุงการสอน
ข้อจำกัด
1. การใช้สื่อประสมต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกมาก ทั้งในด้านสภาพห้องเรียนและเครื่องมือเครื่องใช้
2. ใช้งบประมาณและเวลามากในการเตรียมการเพื่อการผลิตหรือจัดทำ

แนวทางการสร้างสื่อประสม
การจัดทำสื่อประสมจะยึดหลักการสำคัญ คือ การนำเอาสื่อการสอนตั้งแต่ 2 ชนิดมาสัมพันธ์กันซึ่งมีบทบาทส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อเร้าความสนใจ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้นการใช้สื่อประสมจึงเหมาะกับ เนื้อหาสาระที่จะอธิบายข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นรูปธรรม แต่สื่อเพียงชนิดเดียวไม่สามารถที่จะใช้อธิบายให้เข้าใจอย่างชัดเจนและครอบคลุมได้ทั้งหมด



คำศัพท์เฉพาะมีหลายคำที่ใช้ร่วมกั/บมัลติมีเดีย เช่นการนำเสนอด้วยระบบมัลติมีเดีย (Multimedia Presentation) คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยระบบมัลติมีเดีย (Multimedia CAI) และคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดีย (Multimedia computer systems) หากพิจารณาการใช้คำศัพท์เหล่านี้ จะพบว่ามัลติมีเดียนั้นได้รวมเอาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ด้วยกัน จะเน้นส่วนไหนมากน้อยกว่ากัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ การนำเสนอด้วยระบบมัลติมีเดียเน้นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการมองภาพของการนำเสนอมากกว่ากระบวนการ และอุปกรณ์ในการสร้างงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยระบบมัลติมีเดีย หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย จะให้ภาพทัศน์คล้าย ๆ กับการนำเสนอด้วยระบบมัลติมีเดีย



สื่อวีดิทัศน์

การใช้สื่อวีดิทัศน์ในการเรียนการสอนปัจจุบันค่อนข้างจะมีอิทธิพลมาก ทั้งนี้เนื่องจากวีดิทัศน์เป็นสื่อที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถนำเอาสถานการณ์ต่างๆ ที่ผู้ชมไม่เคยได้สัมผัสในชีวิตจริงมาสู่ตัวผู้ชมได้ใกล้กับความเป็นจริงมากที่สุด ในการใช้สื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ เนื้อหาสาระด้วยว่ามีความเหมาะสม คุ้มค่าและ จำเป็นที่จะต้องใช้วีดิทัศน์ เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนหรือไม่ หากเห็นว่าเหมาะสมจึงค่อยดำเนินการจัดหาหรือจัดทำ โดยทั่วไปครูผู้สอนอาจเตรียมวีดิทัศน์เพื่อใช้ประกอบ การเรียนการสอนได้ 2 แนวทาง คือ
1. จัดซื้อ / จัดหาวีดิทัศน์ เรื่องที่มีผู้ผลิตไว้สำเร็จรูปแล้ว ซึ่งครูนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนโดยไม่ได้มาจัดทำอะไรเพิ่มเติมอีก ถ้าอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่เกิดจากความรู้ ความสามารถของครูผู้สอนแต่อย่างใด ซึ่งถือว่าเป็นเพียงสื่อสำเร็จรูปประกอบการสอนตามปกติที่ควรมีในกระบวนการสอนอย่างหนึ่งเท่านั้น หากครูนำมาใช้เป็นนวัตกรรมของการวิจัยในชั้เรียนคงไม่เหมาะสมเพราะยังไม่ได้แสดงถึงศักยภาพ หรือความคิดสร้างสรรค์ของครูผู้สอนแต่อย่างใด แต่ถ้าครูผู้สอนนำเอาวีดิทัศน์มาใช้โดยการนำมาใช้ทั้งหมด หรือเป็นบางตอน และมีกิจกรรมอื่นๆ แทรกให้นักเรียนได้ปฏิบัติ วิเคราะห์ วิจารณ์ตลอดจนถึงมีการประเมินผลด้วย หรืออาจนำเอาวีดิทัศน์ดังกล่าวมาจัดทำในลักษณะเป็นชุดสื่อประสม ซึ่งอาจใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลักหรือสื่อรองก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม อย่างนี้ก็จะเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูได้
2. การผลิตวีดิทัศน์ด้วยตนเอง ในกรณีนี้ถือว่าเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนได้ แต่ผู้ผลิตจะต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ค่อนข้างพร้อมสำหรับใช้ประกอบในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ เช่น กล้องโทรทัศน์ เครื่องบันทึกภาพ จอภาพ เป็นต้น การผลิต วีดิทัศน์ด้วยตนเอง อาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
2.1 เป็นวีดิทัศน์ที่ครูผู้สอนอัดจากรายการโทรทัศน์ต่างๆหรือจากวีดิทัศน์สำเร็จรูปที่มีอยู่แล้ว และนำมาตัดต่อเองเพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหาสาระและเวลาที่จะใช้ในการเรียนการสอน
2.2 เป็นวีดิทัศน์ที่ครูผู้สอนถ่ายภาพต่างๆเองเป็นส่วนใหญ่ เขียนบทโทรทัศน์ หรือสคริปส์ด้วยตนเองและนำมาตัดต่อจัดทำวีดิทัศน์สำหรับใช้ในการเรียนการสอนเอง สรุปแล้วการจัดทำวีดิทัศน์ลักษณะนี้เป็นการจัดทำด้วยตัวของครูผู้สอนเองเป็นหลักนั่นเอง










ชื่องานวิจัย: การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ CAI บูรณาการกับเทคนิคการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง เมฆ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองนครราชสีมา
เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้เรียน
สาขาวิจัย: วิทยาศาสตร์ศึกษาและสิ่งแวดล้อม
ผู้นำเสนอ: นางมุกดาภรณ์ พนาสรรค์ ครูชำนาญการพิเศษ
ที่อยู่ที่ทำงาน: โรงเรียนเมืองนครราชสีมา เลขที่ 310 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา E-mail address: mookda123_p@thaimail.com
โทร: 081- 9760613
ปีที่เผยแพร่: 2550
บทคัดย่อ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ CAI บูรณาการกับเทคนิคการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง เมฆ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองนครราชสีมา เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้เรียนผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เลือกแบบกลุ่มเจาะจง กับกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้มีแกนนำที่ได้เข้ารับการอบรม เรื่อง เมฆ กับศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) จำนวน 4 คน เป็นกลุ่มที่ 1 (กลุ่มเจาะจง)ให้หาเครือข่ายผู้ที่มีความสนใจเรื่อง เมฆ กับนักเรียนกลุ่มใหญ่ที่ไม่ได้เข้ารับการอบรม กำหนดให้เป็นกลุ่มที่ 2 (กลุ่มเป้าหมาย)คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/8 จำนวน 47 คน ผู้วิจัยร่วมกับนักเรียนกลุ่มที่ 1 นำความรู้มาขยายผลด้วยวิธีการใช้สื่อ CAI และจัดทำสื่อรูปภาพเมฆ ประกอบการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้นักเรียน ได้นำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หาคำตอบได้ด้วยตนเองจากเรื่องที่ตนสนใจด้วยวิธีการที่หลากหลายผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/8 จำนวน 49 คน สามารถนำความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการหาคำตอบได้ด้วยตนเองจากเรื่องที่ตนสนใจด้วยวิธีการที่หลากหลายได้ ผลการวิจัยยังพบอีกว่า ผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่ม มีพัฒนาการด้าน M.Q (Moral Quotient) E.Q (Emotion Quotient) และ I.Q (Intelligence Quotient) สูงขึ้นทุกด้าน
จากการประเมินผลมิติด้านปริมาณและคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ Rubrics กลุ่มที่ 1 มีทักษะกระบวนการและผลการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 99.25 และกลุ่มที่ 2 มีทักษะกระบวนการและผลการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 80.44 และผู้เรียนจำนวน 49 คน มีการพัฒนาและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และสามารถขยายผลความรู้ นำไปเผยแพร่ ให้กับเพื่อนนักเรียนในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4- 5 และ 6 ของโรงเรียนเมืองนครราชสีมา ตลอดจนคณะครู บุคลากรในโรงเรียนและผู้สนใจทั่วไปได้อย่างแพร่หลาย

ความสำคัญของมัลติมีเดียต่อการศึกษา
1. พัฒนาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
การเปลี่ยนเปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวง ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สุดที่เรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) ได้พัฒนาเพื่อใช้สนับสนุนภารกิจหลักของประเทศต่างๆ และของโลกมากขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วรองลงมา เช่น เครื่องเมนเฟรม (Mainframe)
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) จนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer) ได้นำมาใช้กับระบบงานที่มีภารกิจใหญ่น้อยตามลำดับ กล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาทอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งในปัจจุบัน

2. บทบาทของสื่อมัลติมีเดีย
สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นมากขึ้นเพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้นๆ ด้วย สื่อธรรมดาที่สุด เช่น ซอล์กและกระดานดำหรือไวท์บอร์ด หากมีการออกแบบการใช้ที่ดี ก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการใช้สื่อที่ซับซ้อนและมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเองสื่อมัลติมีเดียก็เช่นเดียวกับสื่ออื่น คือ มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ข้อได้เปรียบที่เห็นชัดเจนคือ ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดียก็มีอยู่ไม่น้อย ประการสำคัญคงเป็นราคาของคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทำงานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ นับว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลดับ บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสำหรับคนทุกคนทุกอาชีพ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาวะเคลื่อนไหว เสียง วีดีทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายด้าน บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2 ลักษณะ จึงมีดังนี้

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
1. เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
2. ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
3. โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
5. ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
6. การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำระบบ7. คอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับ
ข้อมูลรูปแบบการสอนเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การ ตรวจสอบ ความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
8. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู
ความจำความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และโครงสร้างของเนื้อหา
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
1. เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้กับทุก
สาขาอาชีพ
2. ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
3. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
5. ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
6. อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อ
ต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
7. เน้นโครงการสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นขั้นตอน ไม่ตรวจสอบความรู้
ของผู้รับข้อมูล
8. โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่นักการศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง พัฒนาการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนในประเทศตะวันออกตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา มีความรุดหน้าอย่างเด่นชัด ยิ่งเมื่อมองภาพการใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายด้วยแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะยิ่งโดดเด่นไปอีกนานอย่างไร้ขอบเขต รูปแบบต่างๆ ของสื่อมัลติมีเดีย เพื่อการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งเมื่อกล่าวถึงสื่อมัลติมีเดีย ทุกคนจะมองภาพตรงกัน คือการผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการบันทึกไว้บนแผ่นซีดีรอมและเรียกบทเรียนลักษณะนี้ว่า CAI เมื่อกล่าวถึง CAI จึงหมายถึงสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอบทเรียนโดยมีภาพ และเสียงเป็นองค์ประกอบหลักโดยเฉพาะและเสียงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือวิดีทัศน์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียน ส่วนเสียงนั้นจะมีทั้งเสียงจริง เสียงบรรยาย และอื่นๆ ที่เหมาะสม โดยทั้งหมดนี้จะถ่ายทอดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งต่อเป็นระบบเครือข่ายหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
3. การผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียในโรงเรียน
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนมีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน และด้านบริหารจัดการ เช่น การเงิน งานพัสดุ งานกิจการ นักเรียน งานห้องสมุด การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการ โรงเรียนควรจัดเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน จัดเตรียมโปรแกรม หรือจัดหาโปรแกรมที่จะเป็นต้องใช้และวางแผนการใช้ให้ชัดเจน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือสื่อมัลติมีเดียนั้นเอง สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนช่วยส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้คุ้มค่ามากขึ้น ด้วยเหตุผลดังนี้
เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมา
แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่าสามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
1. สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก
และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
2. สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
ตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง
3. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน ( Authoring tool ) ที่ง่ายต่อการ
ใช้งาน ทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
4. สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อเสนอเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอ
สถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
5. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียนเท่านั้น
ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ตามเวลาที่ตนเองต้องการ
6. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้
ทุกระดับอายุและความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
7. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของ
โรงเรียนหรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายยังช่วยเสริมให้ การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่น ๆ อีกด้วย
องค์ประกอบที่เอื้อต่อการผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วยก่อให้เกิดการตื่นตัว ผลักดันให้ครู อาจารย์ และผู้บริหารทุกระดับของการศึกษาไทย หันมาให้ความสนใจกับการผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียมากขึ้น ในส่วนของภาครัฐนอกจากได้มีการวางแผนจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนทุกระดับ รวมทั้งแผนการให้ความรู้และทักษะคอมพิวเตอร์แก่ผู้บริหาร ครูและอาจารย์แล้ว ยังมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการผลิตและการจัดซื้อมัลติมีเดียด้วย
ในส่วนของภาคเอกชนมีการตื่นตัวกับการผลิตและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนเช่นกัน หลายโรงเรียนมีขีดความสามารถในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วยตนเองเพื่อใช้เองหรือใช้ภายในกลุ่มโรงเรียน หรือใช้ในโรงเรียนในโครงการหรือเครือข่ายความร่วมมือกันบางโรงเรียนต้องซื้อจากผู้ผลิตอื่นๆ บางโรงเรียนใช้วิธีผสมผสาน คือ ผลิตเองบ้าง หรือจ้างให้ผู้อื่นผลิตตามความต้องการบ้าง บรรยากาศในการผลิตและการจัดหาสื่อมัลติมีเดีย เกิดขึ้นต่อเนื่องมากกว่า 10 ปีแล้วแต่ยังพบว่าปริมาณและคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียที่เราผลิตขึ้นใช้เองนั้น มิได้สูงขึ้นตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น โดยสรุปแล้วน่าจะมีสาเหตุเกี่ยวข้องดังนี้
1. ด้านการผลิต รูปแบบการผลิตสื่อมัลติมีเดีย โดยเฉพาะบทเรียน CAI จะมี 3 รูปแบบคือ โรงเรียนผลิตเองทั้งหมด โรงเรียนร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิต และบริษัทผู้ผลิตทำเองทั้งหมด ทั้ง 3 รูปแบบนี้อาจมีความแตกต่างกันบ้างในประเทศอื่น ๆ ตรงที่ผลิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมากกว่ากัน อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่โรงเรียนผลิตเองก็มีความเป็นไปได้น้อยเพราะการลงทุนสูงและไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะการลงทุนด้านอุปกรณ์การผลิตบุคลากรหรือทีมงานผลิต อาจารย์ผู้เป็นเจ้าของเนื้อหาวิชา รวมทั้งลิขสิทธิ์โปรแกรมที่ใช้สร้างบทเรียน ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง การบริหารจัดการก็เป็นปัญหาส่วนหนึ่ง การผลิตในลักษณะนี้อาจคุ้มค่าหากเป็นการร่วมมือกันผลิตในกลุ่มโรงเรียน ในเขตการศึกษา หรือโรงเรียนในสังกัดหน่วยงานเดียวกัน มีองค์กรหรือผู้รับผิดชอบชัดเจน มีแผนงานและนโยบายที่ต่อเนื่อง
รูปแบบที่สอง เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและบริษัทผู้ผลิต เป็นรูปแบบที่ประสบความสำเร็จในหลายประเทศ ในการออกแบบ และการเขียน Storyboard ให้แก่ครู อาจารย์ ซึ่งเป็นเจ้าของเนื้อหา เมื่อได้ Storyboard แล้วบริษัทผู้ผลิตจะดำเนินการผลิต ปรับปรุงและเพิ่มเติมบางส่วน ส่วนลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ใดก็แล้วแต่การตกลง รูปแบบความร่วมมืออื่น ๆ เช่น โรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการเขียน Storyboard ทั้งหมด แล้วจ้างบริษัทเขียนโปรแกรม หรือบริษัทอาจว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจากโรงเรียนกำหนดเนื้อหา กิจกรรม ขอบข่ายเทคนิคการสอน การประเมิน ฯลฯ รูปแบบการร่วมมือลักษณะนี้จะช่วยแก้ปัญหาทั้งสองฝ่ายในด้านการขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน การร่วมมือกันผลิตดังกล่าวนี้อาจมีข้อเสียเปรียบอยู่บ้างในแง่ของการบริหารจัดการ การประสานงาน และความชัดเจนด้านลิขสิทธิ์
รูปแบบที่สาม คือ บริษัทเอกชนเป็นผู้ผลิตเองทั้งหมด มีเป้าหมายสองประการ คือ ผลิตตามการว่าจ้าง หรือผลิตเพื่อจำหน่าย การผลิตตามการว่าจ้างนั้นก็เป็นที่ต้องการของบริษัท เพราะได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้างเป็นเงินก้อนไม่ต้องรับผิดชอบในการขายแต่ประการใด ผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งดูแลการศึกษาในระบบใหญ่สามารถนำบทเรียนไปใช้อย่างคุ้มค่า แต่ปัญหาของบริษัทผู้ผลิตก็มีเช่นกัน ปัญหาใหญ่อยู่ที่การกำหนดรายละเอียดของการออกแบบโปรแกรม หากไม่ทำความตกลงให้ชัดเจนถึงรูปแบบเทคนิควิธีการ และอื่น ๆ แล้ว การตรวจรับงานโดยกรรมการคนละชุดกันอาจไม่เกณฑ์อ้างอิงที่ช่วยกำหนดกรอบของการรับงานได้ สำหรับรูปแบบการผลิตเพื่อจำหน่ายเอง ที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหามาก ปัญหาประการแรก คือ การออกแบบบทเรียนที่มีคุณภาพดี บริษัทต้องลงทุนสูงมาก ความคุ้มค่าอยู่ที่จำนวนสำเนาที่ได้จำหน่ายออกไป ปัญหาประการที่สอง คือ ในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีผลบังคับใช้ไม่เต็มที่ หลายบริษัทต้องเลิกล้มแนวคิดในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีผลบังคับใช้ไม่เต็มที่ หลายบริษัทต้องเลิกล้มแนวคิดในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วยเหตุที่ไม่สามารถควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ และไม่ต้องการให้เกิดข้อขัดแย้ง ปัญหาประการที่สาม คือ ความเสียเปรียบด้านภาษา สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นโดยฝีมือคนไทยเป็นภาษาไทย มีกรอบจำหน่ายที่แคบอยู่ภายในประเทศไทยเท่านั้น ปัญหาข้อนี้ส่งผลกระทบต่อการกำหนดราคาขายด้วย เมื่อยอดขายต่ำก็จำเป็นต้องตั้งราคาขายสูงเพื่อให้คุ้มทุน ในทางกลับกัน สื่อมัลติมีเดียที่ใช้ภาษาเป็นภาษาหลักมีข้อได้เปรียบ คือ มีวงจำหน่ายที่กว้างขวาง หลายบริษัทจึงหันไปร่วมธุรกิจกับต่างประเทศโดยรับเขียนโปรแกรมให้เบ็ดเสร็จตามรูปแบบการผลิตที่กล่าวไว้แล้ว ผลที่ตามมาก็คือโรงเรียนต่าง ๆ ยังคงขาดแคลนสื่อมัลติมีเดียที่เป็นภาษาไทยที่มีคุณภาพ สื่อมัลติมีเดียที่สอนภาษาอังกฤษแม้มีให้เลือกมากขึ้น แต่ก็ยังมีราคาสูงเกินที่จะจัดหาให้เพียงพอกับการใช้เพื่อการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลได้
2. ด้านการจัดหา รูปแบบการจัดหาสื่อมัลติมิเดีย โดยเฉพาะบทเรียน CAI คล้ายกับการจัดหาสื่อสิ่งพิมพ์ใช้ในห้องสมุดหรือชั้นเรียน ในการจัดหาสื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีอะไรซับซ้อน ความสำคัญจะอยู่ที่สื่อที่มีให้เลือกและวิธีการเลือก หากมีจำนวนให้เลือกมากพอ และผู้เลือกได้มีโอกาสเปรียบเทียบคุณภาพกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้เป็นมาตรฐาน โอกาสที่จะได้สื่อที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมก็มีมาก
การจัดหาสื่อมัลติมีเดียจะมีรูปแบบคล้ายกัน หากมีสื่อให้เลือกมากพอ มีแบบประเมินที่มีคุณภาพ และมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพในทุกด้านก็น่าจะเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานี้ ยังมีปัญหาการปฏิบัติเกือบทุกด้าน ประการแรกคือ สื่อมัลติมีเดียยังมีไม่มากพอที่จะให้เลือกใช้ แม้ในระยะหลังหน่วยงานต่าง ๆ จะมีนโยบายสนับสนุนการผลิตหรือการจัดหาบทเรียนมาตลอด แต่การจะสร้างให้เกิดการแข่งขันทั้งด้านปริมาณและคุณภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แบบประเมินยังมีไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก อีกทั้งยังมีความหลากหลายทั้งรูปแบบและหัวข้อการประเมิน ขาดแคลนมากที่สุดน่าจะเป็นนักประเมินที่มีความรู้ความเข้าใจการประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย ผู้ที่จะเป็นผู้ประเมินนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรอบรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอน รู้เทคนิคการออกแบบ รู้รูปแบบของสื่อมัลติมีเดีย รู้ข้อจำกัดและข้อได้เปรียบ สามารถประเมินคุณภาพกับราคาเปรียบเทียบกันได้ และแน่นอนว่าผู้ประเมินจะต้องมีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ สามารถตรวจสอบการใช้งานวิเคาระห์ความยากง่ายในการใช้งานของสื่อมัลติมีเดียที่ตนประเมินอยู่ได้ ซึ่งหาได้ไม่ง่ายนัก
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ คงใช้แนวคิดคล้ายกับการแก้ปัญหาการผลิตสื่อมัลติมีเดีย กล่าวคือ ควรมีการรวมตัวหรือจัดตั้งหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการประเมินสื่อมัลติมีเดียจนกว่าหน่วยงานย่อยหรือโรงเรียน จะมีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
ด้านการประเมินสื่อมัลติมีเดียเอง สำหรับหน่วยงานของรัฐ ควรเริ่มด้วยการประเมินโดยหน่วยงานส่วนกลางแล้วกระจายการรับผิดชอบไปสู่หน่วยงานในระดับจังหวัด และกลุ่มโรงเรียนต่อไป อย่างไรก็ตาม ลักษณะของการกระจายความรับผิดชอบในการจัดหาสื่อมัลติมีเดียนี้คงต้องมีการปรับระบบควบคู่กับการวางรูปแบบการจัดสรรงบประมาณด้วยเช่นกัน
สรุป
คำว่า Multimedia นิยมพูดทับศัพท์ และใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้น คำจำกัดความของคำว่า Multimedia ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนไปบ้าง ภาพทัศน์เดิมซึ่งเป็นการต่อเชื่อมอุปกรณ์หลายประเภทเข้ามาใช้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ และต้องมีการจัดเตรียมเพื่อนำเสนออย่างพิถีพิถัน กลายเป็นการมองภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถนำเสนอสื่อหลากหลายประเภท ผ่านจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบอื่น โดยความยากจะอยู่ที่ขั้นตอนการเขียนหรือออกแบบโปรแกรม ส่วนการนำเสนอนั้นง่ายไม่ซับซ้อน
คำว่า “ สื่อมัลติมีเดีย” เป็นการใช้คำซ้อนกัน คือคำว่า สื่อ + Multimedia ซึ่ง Multimedia ก็มีความหมายว่า สื่อประสมหรือสื่อหลายสื่ออยู่แล้ว เมื่อมาผนวกกันจึงเกิดคำซ้ำขึ้น คือ สื่อ + สื่อประสม คำว่าสื่อมัลติมีเดียที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้จึงให้มีวัตถุประสงค์เฉพาะซึ่งได้อธิบายไว้ในตอนต้นของบทนี้แล้ว

ปัจจุบัน สื่อมัลติมีเดียบนเว็บและสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอมกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การออกแบบสื่อมัลติมีเดียมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น หากออกแบบเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer – Assisted Instruction ( CAI) สื่อมัลติมีเดียไม่จำเป็นต้องเป็น CAI เสมอไป ข้อมูลต่าง ๆ ที่เราสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมีภาพและเสียงก็ถือเป็นสื่อมัลติมีเดีย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาเกือบทุกระดับได้เล็งเห็นความสำคัญของสื่อมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง CAI แต่เนื่องจากสื่อมัลติมีเดียที่จำหน่ายมีราคาค่อนข้างแพงและไม่ค่อยสอดคล้องกับของหลักสูตร การลงทุนจึงไม่ค่อยได้ผลเต็มที่ สถาบันการศึกษาหลายแห่งแก้ปัญหาด้วยการผลิตสื่อมัลติมีเดียเอง

ซึ่งแม้จะเป็นทางออกที่ดี แต่ในเชิงปฏิบัติมีอุปสรรคมากพอสมควร แนวคิดในการแก้ปัญหานี้น่าจะเป็นการผสมผสานระหว่างการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการผลิตขององค์กรเอกชน และขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้หน่วยงานหลักที่ดูแลด้านการศึกษาของประเทศ จัดระบบการผลิตที่เต็มรูปแบบและต่อเนื่องอีกทางหนึ่งได้




ข้อดีของนวัตกรรมการวิจัยเมฆ
1. ทำให้นักศึกษามีความสนใจเรียน ในรายวิชาที่เข้มข้น
2. ฝึกให้นักศึกษาสามารถคิดค้นสื่อแบบง่าย ๆ ได้
3. เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง
4. นักศึกษาสามารถอธิบาย และเผยแพร่ข้อมูลให้กับบุคคลอื่นได้
5. สร้างความมั่นใจให้กับตัวนักศึกษาในการ คิด พูด อ่าน เขียน

ข้อเสียของนวัตกรรมการวิจัยเมฆ
1. เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีมากเกินไป ทำให้ผู้สอนอาจดูแล และทำความเข้าใจกับตัวกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ทั่วถึง
2. จำนวนกลุ่มเจาะจง มีน้องเกินไป (4 คน)
3. สื่อรูปภาพเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมาย

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ ”นวัตกรรมการวิจัยเมฆ”
1. จ้ดให้มีกลุ่มเจาะจงมากพอ ในการสอนนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
2. ควรพัฒนาสื่อต่าง ๆ ให้มีมากขึ้น และมีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การใช้ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เพื่อดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมาย
3. พัฒนาสื่อให้มีความแข็งแรง ทนทาน หรือใช้ได้นาน









“ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม “

1. ในการใช้สื่อหลาย ๆ ประเภทเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นเรื่องที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่ในด้านตรงข้าม กลับไม่สามารถทำได้ง่าย เพราะอาจติดปัญหาในเรื่องของเงินทุน การสนับสนุนจากทางสถานศึกษาที่สังกัด รวมไปถึงการขาดประสบการณ์ และความรู้ในเรื่องของ การผลิตสื่อต่าง ๆ
2. จากประสบการณ์ของผู้สอนเอง ซึ่งในส่วนงานที่สอนจะมีการใช้สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ รวมไปถึงคอมพิวเตอร์ในการตัดต่อผลงาน ทำให้รู้ว่า การเรียนการสอนโดยการใช้การอธิบายปากปล่าวนั้น เมื่อเปรียบเทียบกัน ทำให้พบว่า การใช้โสตทัศนูปกรณ์ ทำให้นักเรียน นักศึกษา สามารถเข้าใจ และลงมือปฏิบัติในเรืองการเรียนได้ง่ายขึ้น ส่งผลทำให้ง่ายต่อทั้งตัวอาจารย์ และตัวนักศึกษาเอง สามารถทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้
3. การให้ประสบการณ์ตรงจากการใช้โสตทัศนูปกรณ์จากประสบการณ์ของผู้สอน เช่น การนำภาพข่าวจริงที่เกิดขึ้น มาทำการวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำให้นักศึกษาเข้าใจ ในเรื่องราวที่เกิดขึ้น และสามารถวิเคระห์ข่าวสารได้อย่างถูกต้อง
4. ในเรื่องของสื่อการสอนนั้น สิ่งที่อยากเสนอแนะนั่นคือการติดต่อสื่อสาร ในการผลิตสื่อนั้น ส่วนมากจะเป็นลักษณะของสื่อสารแบบทางเดียว ซึ่งในบางครั้งอาจทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจ ดังนั้น ลักษณะของสื่อควรจะสื่อสารได้ทั้ง 2 ทางคือ ผู้ส่ง และผู้รับ ถึงแม้บางครั้งจะทำได้ยากจากตัวสื่อก็ตาม
5. เรื่องการใช้สื่อต่าง ๆ ในการช่วยสอนอีกส่วนหนึ่ง คือ การพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครมาคอยสนับสนุน เนื่องมาจากผู้สอนได้ผ่านอุปสรรคในการผลิตสื่อการสอน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้ตัวอาจารย์ผู้สอนเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ และส่งผลทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการสอน จึงอยากให้ผู้สอนมีความอดทน และตั้งใจในการเรียนการสอน รวมไปถึงการผลิตสื่อต่าง ๆ เพื่อตัวผู้สอน และผู้เรียนเอง



“ บทความนวัตกรรมนี้ผู้จัดทำ อ้างอิงมาจาก “


มุกดาภรณ์
รับราชการครู
โรงเรียนเมืองนครราชสีมา
ชื่องานวิจัย: การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ CAI บูรณาการกับเทคนิคการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง เมฆ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองนครราชสีมา
เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้เรียน
สาขาวิจัย: วิทยาศาสตร์ศึกษาและสิ่งแวดล้อม
ผู้นำเสนอ: นางมุกดาภรณ์ พนาสรรค์ ครูชำนาญการพิเศษ
ที่อยู่ที่ทำงาน: โรงเรียนเมืองนครราชสีมา เลขที่ 310 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา E-mail address: mookda123_p@thaimail.com
โทร: 081- 9760613
ปีที่เผยแพร่: 2550

No comments:

Post a Comment